นโยบาย

นโยบายการพัฒนาของผู้บริหารท้องถิ่น  

1.  ด้านการเมือง             
1.1  เทิดทูนรักษาไว้ซึ่งสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์และการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข          
1.2  เสริมสร้างความรู้ความเข้าใจในระบอบประชาธิปไตยรวมถึงสิทธิเสรีภาพและหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญ แห่งราชอาณาจักรไทย            
1.3  สร้างความสัมพันธ์อันดีกับองค์กรการปกครองส่วนท้องถิ่นอื่นๆและภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วนในการร่วมมือร่วมใจที่จะพัฒนาท้องถิ่นให้บรรลุวัตถุประสงค์และบังเกิดผลดีแก่พี่น้องประชาชน
 
2.  ด้านการรักษาความสงบเรียบร้อยของประชาชน            
2.1 ส่งเสริมด้านความมั่นคงให้กับประชาชนในชีวิตและทรัพย์สิน โดยตั้งสำนักงานป้องกันสาธารณภัยจัดให้มีรถดับเพลิงที่มีความพร้อม 24 ชั่วโมง จัดรถบรรเทาสาธารณภัย  รถกู้ชีพ รถกู้ภัย เพื่อช่วยเหลือประชาชน            
2.2  ส่งเสริมภารกิจในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด ตามนโยบายของกระทรวงมหาดไทยและของรัฐบาล            
2.3  จัดให้มีการปรับปรุงไฟฟ้าสาธารณะเพิ่มความสว่างและเพิ่มไฟฟ้าให้เพียงพอตามแหล่งชุมชนและเส้นทางสายหลักสายรอง
 
3.  ด้านการบำรุงทางบกและทางน้ำ            
3.1  พัฒนาการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำเพื่อลดปัญหาภัยแล้ง น้ำท่วม ช่วยให้มีน้ำเพื่อการเกษตรอย่างเพียงพอและเพื่ออุปโภคและบริโภค มุ่งเน้นการพัฒนาบำรุงรักษาแหล่งน้ำ ขุดสระเก็บน้ำ การขุดลอกคูคลองหนองบึงที่ตื้นเขินพร้อมทั้งสนับสนุนน้ำมันสูบน้ำให้กับเกษตรกรทำนาทำการเกษตรทุกชนิด            
3.2 ขยายเขตประปาส่วนภูมิภาคเพื่อให้ประชาชนได้ใช้น้ำเพื่อการอุปโภคบริโภคอย่างเพียงพอ            
3.3 พัฒนาปรับปรุงภูมิทัศน์เส้นทางถนนทุกสายในเขตเทศบาลให้สะอาดเพื่อทำเป็นแหล่งท่องเที่ยวและเพื่อการสัญจรไปมาสะดวกปลอดภัย
 
4.  ด้านการรักษาความสะอาดของถนนหรือทางเดินและที่สาธารณะรวมถึงการกำจัดขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล           
4.1  ส่งเสริมปรับปรุงภูมิทัศน์และสถานที่ออกกำลังกายโดยให้ถนนทุกเส้นสะอาดสวยงามปราศจากหญ้ารกรุงรัง และให้มีการปรับปรุงการระบายน้ำให้สะอาดอย่างทั่วถึงเพื่อรักษาความสะอาดของถนนหรือทางเดินและทางสาธารณะรวมถึงกำจัดขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูลอย่างถูกสุขลักษณะ
 
5.  ด้านการป้องกันและระงับโรคติดต่อ           
5.1  การรณรงค์ป้องกันและระงับโรคติดต่อในชุมชน           
5.2  ส่งเสริมสนับสนุนการสาธารณสุขขั้นพื้นฐานของชุมชน มุ่งเน้นการส่งเสริมการให้บริการสุขภาพประชาชนในทุกระดับอย่างทั่วถึง ส่งเสริมให้ประชาชน ในท้องถิ่นมีสุขภาพที่ดีด้วยการสร้างเสริมสุขภาพและการป้องกันโรค
 
6.  ด้านการส่งเสริมการเรียนรู้ของประชาชน           
6.1  สนับสนุน ส่งเสริมด้านการศึกษาให้โรงเรียนในเขตเทศบาลให้นักเรียนได้รับการศึกษาอย่างเท่าเทียมโดยเด็กนักเรียน ผู้ปกครอง ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆ เรียนฟรีอย่างมีคุณภาพ
6.1.1 สนับสนุนส่งเสริมบุคลากรทางการศึกษา ครูผู้สอน ผู้บริหาร ได้มีการอบรมหลักสูตรการเรียนการสอนที่ทันสมัยเข้าถึงเทคโนโลยีในยุคสมัยใหม่
6.1.2 จัดให้มีการแข่งขันกีฬานักเรียนระดับในโรงเรียน ระดับจังหวัด และระดับภาคในโอกาสต่างๆไปตามสมควร
6.1.3 สนับสนุนส่งเสริมด้านกีฬาให้ท้องถิ่นท้องที่ประชาชนได้มีโอกาสเล่นกีฬา การแข่งขันกีฬา และจัดให้มีกีฬาประจำท้องถิ่นในแต่ละชุมชน แต่ละหมู่บ้านเป็นกีฬาประจำเทศบาล           

6.2  ส่งเสริมอาชีพให้กับประชาชนกลุ่มเกษตรกร กลุ่มอาชีพต่างๆ ให้สามารถพึ่งพาตัวเองได้โดยยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียง ตลอดจนส่งเสริมและเพิ่มพูน ความรู้ในด้านเทคนิคตามหลักวิชาการในการประกอบอาชีพให้ถูกต้องแก่เกษตรกรพร้อมทั้งการฟื้นฟูโครงการ “คืนข้าวให้นา คืนปลาให้น้ำ”

6.3  สนับสนุนจัดกลุ่มสตรีอาสา สนับสนุน อสม. อปพร. ฝึกอบรมให้ความรู้เพื่อให้บริการประชาชนในชุมชนในหมู่บ้านเพื่องานกิจกรรมต่างๆ

 

7.  ด้านการส่งเสริมการพัฒนาสตรี เด็ก เยาวชน ผู้สูงอายุ และผู้พิการ           

7.1 ส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพ สตรี เด็ก เยาวชน ผู้สูงอายุ ผู้พิการ และผู้ด้อยโอกาสให้มีคุณภาพที่ดีสามารถอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข           

7.2 จัดตั้งกลุ่มอาชีพของทุกองค์กร ทั้งกลุ่มสตรี กลุ่มเยาวชน กลุ่มผู้สูงอายุ และกลุ่มคนพิการ            

7.3 จัดตั้งศูนย์ส่งเสริมคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุและคนพิการ           

7.4 ส่งเสริมการจัดสวัสดิการชุมชนให้ประชาชนมีสวัสดิการเพิ่มขึ้นทุกเพศทุกวัยทุกอาชีพ

 

8.  ด้านการบำรุงศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น และวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น           

8.1 ส่งเสริมศาสนาศิลปะ วัฒนธรรม และประเพณีอันดีงาม ด้วยการส่งเสริมและสนับสนุนความร่วมมือกับองค์กรปกครองท้องถิ่นและภาคีเครือข่าย  ภาคส่วนต่างๆ ในการทำนุบำรุงพัฒนาและอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรม ศาสนา จารีต ประเพณี และภูมิปัญญาท้องถิ่นอันดีงาม

 

9.  ด้านการส่งเสริมการท่องเที่ยวชุมชน           

9.1 ส่งเสริมการท่องเที่ยวโดยการสร้างการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนจัดให้มีตลาดต้องชม ตลาดชุมชนคนทุ่งหลวงเป็นตลาดเชิงวัฒนธรรม เพื่อการท่องเที่ยวในทุกด้านโดยสนับสนุนงบประมาณให้แก่แม่ค้า “ตลาดต้องชม  ตลาดชุมชนคนทุ่งหลวง”  ส่งเสริมให้คนในท้องถิ่นคนในพื้นที่ทำการค้าให้มากที่สุดและส่งเสริมจัดให้มีการแสดงศิลปวัฒนธรรมการละเล่นพื้นบ้านของชุมชนท้องถิ่นเป็นอัตลักษณ์ของท้องถิ่นชุมชนอย่างสร้างสรรค์เพื่อรองรับการท่องเที่ยวอย่างมีประสิทธิภาพ

9.2 จัดให้มีตลาดสดเป็นของเทศบาลจัดตลาดให้มีประสิทธิภาพให้มีความสะอาดปราศจากเชื้อโรค จัดตลาดให้เป็นระเบียบมีห้องสุขาห้องน้ำที่สะอาด มาตรฐานและถูกสุขลักษณะอย่างพอเพียงเพื่อรองรับประชาชนที่มาใช้บริการ

9.3 จัดให้มีอินเตอร์เน็ตความเร็วสูงครอบคลุมทุกพื้นที่ในเขตเทศบาลเพื่อให้ประชาชนเยาวชนได้เข้าถึงเทคโนโลยีที่ทันสมัย และพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีได้ในอนาคต

 

10.  ด้านการบริหารจัดการ           

10.1 บริหารจัดการให้มีอาคารสถานที่และสิ่งอำนวยความสะดวกที่เพียงพอต่อการปฏิบัติงานตามอำนาจหน้าที่และภารกิจในการจัดระบบบริการสาธารณะให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อยรวดเร็วต่อเนื่องและเกิดประโยชน์สูงสุดต่อประชาชน

10.2 ส่งเสริมพัฒนาบริหารจัดการของเทศบาลตำบลทุ่งหลวงให้มีระบบปฏิบัติงานด้วยเทคโนโลยีดิจิตอลที่ทันสมัยเพื่อลดขั้นตอนการปฏิบัติงานให้สามารถให้บริการประชาชนได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น

10.3 ส่งเสริมพัฒนาศักยภาพและจัดสวัสดิการให้แก่บุคลากรของเทศบาลตำบลทุ่งหลวงอย่างเหมาะสมเสริมสร้างขวัญกำลังใจที่ดีแก่บุคลากร เพื่อปฏิบัติงานอย่างมีประสิทธิภาพ

10.4 บริหารงานด้วยการร่วมคิดร่วมทำร่วมแก้ไขปัญหาโดยคำนึงถึงประโยชน์ของประชาชนจะได้รับเป็นสำคัญตามหลักธรรมาภิบาลและหลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี

10.5 ส่งเสริมค่านิยมที่ดีให้กับบุคลากรของเทศบาลตำบลทุ่งหลวง  ตามหลักและแนวทางในประมวลจริยธรรม