แหล่งท่องเที่ยว
วัดลาย (หลวงปู่ต่วน)

ชื่อแหล่งท่องเที่ยว : วัดลาย (หลวงปู่ต่วน) สถานที่ตั้ง : วัดลาย รายละเอียด : หลวงปู่ต่วน ประดิษฐานอยู่ภายในบริเวณวัดลาย ชุมชนหน้าวัดลาย หมู่ที่ 2 ต.ทุ่งหลวง องคีรีมาศ จ.สุโขทัย การเดินทาง : เดินทางจากตัวเมืองสุโขทัยไปตามถนนสายสุโขทัย-กำแพงเพชร ทางหลวงหมายเลข 101 ประมาณ 16 กิโลเมตร ทางด้านซ้ายมือจะพบซุ้มประตูทางเข้า จะมีหม้อกรันขนาดใหญ่ชัดเจน เดินทางเข้าไปตามซุ้มประตูอีกประมาณ 500 เมตร ผ่านอาคารศูนยืกลางชุมชน กลุ่มเครื่องปั้นดินเผาบ้านทุ่งหลวง เลี้ยวขวาก็จะถึงวัดพอดี

ประวัติวัดลาย

วัดลาย ตั้งอยู่เลขที่ 148 บ้านวัดลาย หมู่ที่  3 ต.ทุ่งหลวง อ.คีรีมาศ จ.สุโขทัย สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ภาค 5 ห่างจากอำเภอคีรีมาศมาทางทิศเหนือ ประมาณ 4 กิโลเมตร มีที่ดินตั้งวัดเนื้อที่ 39 ไร่ 2 งาน 94 ตารางวา มีอาณาเขตดังนี้ ทิศเหนือติดต่อถนนสาธารณะประโยชน์ ทิศใต้ติดต่อโรงเรียนวัดลายมิตรภาพที่ 80 ทิศตะวันออกติดต่อถนนสาธารณะประโยชน์ ทิศตะวันตกติดต่อบึงสาธารณะ โดยมีหนังสือสำคัญ น.ส.4.จ.เลขที่ 3596 ความเป็นมาของวัดลายนี้ แต่เดิมมาเป็นวัดร้างเก่าแก่วัดหนึ่ง คู่มากับกรุงสุโขทัยเมื่อ 1800 ปีมาแล้วเป็นวัดที่เคยรุ่งเรืองมาในอดีต จากการสันนิษฐานโบราณวัตถุทั้งหลายที่ปรากฏอยู่ก็คือ แท่นอุโบสถเก่า แท่นเจดีย์เก่า และใบเสมา 2 ใบ ซึ่งใบเสมาแกะสลักลายเส้นลงบนแผ่นหิน อายุอิฐที่ฐานอุโบสถก็เช่นเดียวกับอิฐที่ฐานอุโบสถและฐานเจดีย์เมืองเก่าสุโขทัย และวัดลายได้สร้างขึ้นเป็นวัดนับตั้งแต่เมื่อวันที่ 1 เดือนเมษายน  พ.ศ.1835 เป็นวัดเก่าแก่สร้างมานานอีกวัดหนึ่ง ก่อนนี้วัดลายชื่อว่า “วัดป่าเลย์ไลยก์” เพราะบุพการีสมัยก่อนเรียกกันต่อมาเช่นนั้นดังปรากฏหลักฐานที่น่าเชื่อเช่นนั้น ก็เพราะมีป่าต้นยางและป่าตาลสมัยก่อนเมื่อถึงคราวดอกไม้บานในฤดูแล้ง จะมีฝูงผึ้งมาจับที่ต้นยางทุกๆปี สำหรับต้นตาลหรือป่าตาลเดิม ยังปรากฏอยู่ 2 ต้น อยู่ทางทิศเหนือของอุโบสถปัจจุบันต้นเก่าโค่นล้มไป แต่มีต้นใหม่เกิดขึ้นมาแทนที่

          ต่อมาภายหลัง อดีตเจ้าอาวาสรูปที่หนึ่ง (หลวงพ่อต่วน) ได้ปลูกตาลไว้เป็นจำนวนมากมีถึง 900 กว่าต้น เรียกว่า “ป่าตาล” อยู่ทางทิศใต้ของวัด วัดนี้เป็นวักที่มีความสงบเงียบเป็นภูมิลำเนาที่เหมาะสมกับผู้แสวงหาความสงบเป็นอย่างยิ่ง และที่นามว่า “วัดลาย” นั้นมีนามตามชื่อของหมู่บ้านที่ตั้งวัด ได้รับพระราชทาน วิสุงคามสีมา วันที่ 27 เดือนกันยายน พ.ศ.2481 ขนาดวิสุงคามสีมากว้าง 40 เมตร ยาว 80 เมตร เข้าใจว่าประชาชนได้พร้อมใจกันจัดสร้างวัดดังนี้ มีอาคารเสนาสนะต่างๆดังนี้ กุฎิกว้าง 4.50 เมตร ยาว 10.50 เมตร จำนวน 1 หลัง กุฎิกว้าง 7 เมตร ยาว 15 เมตร จำนวน 6 หลัง ศาลาการเปรียญกว้าง 8 เมตร ยาว 15.50 เมตร เป็นอาคารไม้กึ่งคอนกรีต สร้างเมื่อ พ.ศ.2498 อุโบสถกว้าง 8.55 เมตร ยาว 15.50 เมตร สร้างเสร็จเมื่อ พ.ศ.2480 วิหารกว้าง 10.50 เมตร ยาว 12.50 เมตร เป็นอาคารไม้เทพื้นด้วยคอนกรีต สร้างเสร็จเมื่อ พ.ศ.2503 และได้บูรณะสร้างเป็นอาคารเทพื้นด้วยคอนกรีตขึ้นใหม่  สร้างเสร็จเมื่อปีพุทธศักราช 2561

แหล่งท่องเที่ยวอื่นๆ